วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การประชุมสภากาแฟ 14 พฤศจิกายน 2554

การประชุมสภากาแฟ   วันจันทร์ที่  14  พฤศจิกายน  2554   เริ่มประชุมเวลา  09.00 น. มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย
1.  นางนาถยา  ผิวมั่นกิจ           รองผู้อำนวยการฯ     ประธานการประชุม
2.  นายอุดมศักดิ์  วงศ์พันธุ์         หัวหน้าส่วนอำนวยการ                        
3.  นายสมศักดิ์  วชิรพันธุ์          หัวหน้าส่วนพัฒนาการศึกษาบนพื้นที่สูง                 
4.  นายนิรันดร์  ยงไสว             หัวหน้าส่วนวิจัยฯ    
5.  นางดุษณีย์  เหลี่ยมพันธุ์         หัวหน้าส่วนเทคโนโลยีฯ.                               
6.  นางณิชากร   เมตาภรณ์        หัวหน้าส่วนจัดการศึกษาฯ
7.  นางวราพรรณ  พูลสวัสดิ์       งานแผนงาน ส่วนอำนวยการ

ประธานติดตามงานส่วนต่าง ๆ ที่ได้มอบหมายจากการประชุมสภากาแฟเมื่อวันที่ 7พฤศจิกายน 2554    ดังนี้
1) งานพัฒนาบุคลากร  :  ได้มอบหมายให้ส่วนอำนวยการรับผิดชอบเขียนโครงการพัฒนาบุคลากร  โดยส่วนอำนวยการได้เสนอโครงการดังนี้
    อ.อุดมศักดิ์  :  ส่วนอำนวยการได้วางแผนพัฒนาบุคลากรอยู่ 2 ส่วน คือ
                        1)  พัฒนาบุคลากรในสถาบัน กศน.ภาคเหนือ  ซึ่งจะมีการพัฒนาในรูปแบบการศึกษาดูงาน  อบรม สัมมนา    และ โครงการพัฒนาครูในเรื่องงานวัดผล การสร้างข้อสอบ นักประเมินผลและวิจัย  กำลังประสานส่วนจัดฯ เพื่อขอเนื้อหาข้อมูล/กลุ่มเป้าหมาย ในการเขียนโครงการ โดยใช้งบอุดหนุนข้อสอบที่กันไว้จำนวน (500,000 บาท)
                         2)  พัฒนาหัวหน้า กศน.ตำบล  ซึ่งจะจัดอบรมจำนวน  1,500 คน  หลักสูตร 3 วัน 2 คืน คาดว่าจะใช้งบประมาณจำนวน 3,200,000  บาท  ขณะนี้ได้เขียนโครงการแล้ว 
อ.ดุษณีย์  :  เสนอแนะให้เน้นอบรม หัวหน้า กศน.ตำบล ในเรื่อง สารสนเทศเป็นหลักมากกว่าเรื่องอื่น ๆ    แต่เนื้อหาอื่น ๆ เช่น การจัดกิจกรรม  เครือข่าย การบริหารจัดการ น่าจะยังคงอยู่

2) งานอัธยาศัย   :  อ.ดุษณีย์       ส่วนเทคโนฯ  ได้มอบหมายให้รับผิดชอบเขียนโครงการ
 3 โครงการ ได้แก่
       1) โครงการผลิตและพัฒนา ICT ในรูปแบบการจัดตามอัธยาศัย/ ONLINE
       2) โครงการพัฒนา ผลิต  จัด ในรูปแบบ วิทยุ โทรทัศน์ ออนไลน์
       3) โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้   เป้าหมายพัฒนา 3  ศูนย์การเรียนรู้ คือ
            (1) ห้องสมุด 
            (2) ศูนย์การเรียนรู้ภาษาจีน  ภาษาอังกฤษ
            (3)  ศูนย์การเรียนรู้อาชีพ (ยางพารา /สมุนไพรและนวดแผนไทย)
          ที่ประชุมเสนอให้มีงานส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในชุมชน    (ซึ่งเดิม อ.สุชิน  เพ็ชรักษ์
ได้ทำร่วมกับชุมชนไว้หลายโครงการ  คิดว่าเป็นโครงการที่ดี  น่าจะคงไว้ 

3) ส่วนจัดฯ  :  อ.ณิชากร   ตามที่มอบส่วนจัดฯ ดำเนินการใน 2 ส่วน
     1) โครงการจัดการศึกษาต่อเนื่อง   กำหนดหลักสูตรที่จะพัฒนา ดังนี้
          (1) พัฒนาหลักสูตรใหม่ด้านอาชีพ จำนวน 5 หลักสูตร
          (2) พัฒนาหลักสูตรเดิม 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรการประเมินโครงการ
               และการเขียนแผน      
     2) โครงการส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษา  จะดำเนินการโครงการ คือ ส่งเสริมการศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  โดยจะเน้นหลักสูตรอาเซียนศึกษา  เช่น พม่า ลาว และกัมพูชา   และการวัดผลในเรื่องการจัดทำข้อสอบ แนวทางการวัดผล  สื่อ คู่มือวัดผลประเมินผล  และ e-testing

4. ส่วนพื้นที่สูงฯ :  อ.สมศักดิ์   ส่วนพื้นที่สูงรับผิดชอบ 2 โครงการ คือ
    1) โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง   จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้คิดพัฒนารูปแบบ ขณะนี้ได้จัดทำเอกสารจากการสรุปการอบรมสัมมนา  และจะเชิญผู้เกี่ยวข้องมา EDIT  คู่มือ สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม  มีกิจกรรม/กระบวนการ  หากเรียบร้อยแล้ว จะทดลองในพื้นที่ในกลุ่มเป้าหมาย  จำนวน 9 ศศช.  โดย ทั้ง 9 แห่งนี้ จะมีสื่อที่ทดลองจำนวน 3 กลุ่มคือ
          - กลุ่มที่ 1 ผู้ใหญ่
          - กลุ่มเด็กเล็กและผู้ใหญ่
          - กลุ่มเด็กเล็ก+วัยเรียน+ผู้ใหญ่
    2) โครงการ กพด.    ปีนี้หากมีการอบรม จะอบรมครู นอกโครงการ กพด.  (ครูศศช.พื้นที่ปกติ)  เหตุผลเพราะครู กพด. ได้รับการพัฒนาทุกคน(3ปี) คงเหลือครูนอก กพด.อีกจำนวน 600 คน      ที่ผ่านมา การอบรมครู กพด.  สำนักงาน กศน.โดยกลุ่มส่งเสริมปฏิบัติการเป็นผู้เขียนโครงการ  หากมีงบประมาณมาก็จะเร่งดำเนินการ

เรื่องเสนอจากส่วนต่าง ๆ
ส่วนเทคโนโลยี  :  อ.ดุษณีย์   :  จากการที่เราทำ SAR  ปี 2554 เสร็จเรียบร้อยแล้ว  เสนอว่าเราควรต้องปรับวิสัยทัศน์ของสถาบัน กศน.ภาคเหนือ  หรือยังคงไว้เหมือนเดิม

ส่วนการศึกษาบนพื้นที่สูง   :  อ.สมศักดิ์  :  หากจำเป็นต้องปรับวิสัยทัศน์ของสถาบัน โครงการอบรมทั้งหลาย ต้องปรับให้เป็นการจัดการศึกษาต่อเนื่องด้วย  เพื่อจะให้เข้ามาตรฐานที่ 2 มาตรฐาน 3 และมาตรฐานที่ 6  เช่น โครงการพัฒนาครู  จะต้องเข้ามาตรฐาน 2 และ มาตรฐาน 6

ส่วนอำนวยการ  :  อ.อุดมศักดิ์  :  ขอความร่วมมือทุกคนสั่งจองไดอารีของสำนักงาน กศน.  คนละ 1  เล่ม
ที่ประชุมเสนอขอหารือ ผอ.เพื่อพิจารณา  ดังนี้
                    1. หารือในเรื่องการปรับวิสัยทัศน์  ของสถาบัน กศน.ภาคเหนือ ควรปรับใหม่หรือไม่ รวมทั้งให้มีการพิจารณาผลการประเมินตนเอง 3 ปีที่ผ่านมา ว่ายังสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจมากน้อยเพียงใดให้เป็นไปตามบทบาทและภารกิจตามนโยบายสำนักงาน กศน.หรือไม่
                    2. ที่ประชุม เสนอให้ยกเลิกคณะเลขาประกันคุณภาพฯ  เหตุผลเพราะว่า เราประเมินผ่านมา 3 ปีแล้ว ทุกคนมีความเข้าใจในเรื่องการประเมินมากขึ้น ควรให้เป็นการทำงานปกติของงานประกัน ส่วนอำนวยการ   แต่กรรมการประเมินมาตรฐาน 6 มาตรฐานยังคงอยู่   
                    3. การแต่งตั้งกรรมการประเมินมาตรฐาน 6 มาตรฐาน   เห็นควรให้ดูมาตรฐานตัวบ่งชี้ด้วยว่ามาตรฐานไหนควรมีกี่คน ทุกคนควรมีส่วนร่วมในการทำหน้าที่ประเมินมาตรฐาน  ไม่ควรมีข้อยกเว้น
                    4. ทบทวนคณะกรรมการวิชาการ  ควรยกเลิกหรือให้มีการแต่งตั้งใหม่ หรือไม่  ถ้าให้มีเหมือนเดิมกรรมการที่ออกไปควรแต่งตั้งเพิ่มเติมเพื่อแทนคนเดิมที่ออกไป  
                    5. ที่ประชุมเสนอไม่ควรมีคณะกรรมการนิเทศ เพราะ ผอ.และรองฯ ทำหน้าที่นิเทศอยู่แล้ว  นอกจากนี้แต่ละส่วนยังทำหน้าที่สรุปรายงานการดำเนินงานรายงาน ผอ.ทุกครั้งอยู่แล้ว 
                    6. โครงสร้างส่วนงานของสถาบัน กศน.ภาคเหนือ ยังคงใช้เหมือนเดิมหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อส่วนต่าง ๆ สามารถจัดทำ Job งาน ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพจริง
                    7. ควรมีการทบทวนว่า กลุ่มเป้าหมายของสถาบัน กศน.คือใครให้ชัดเจน เนื่องจากมีผลต่อการกำหนดกลุ่มเป้าหมายในโครงการ และการประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานต่าง  ๆ โดยเฉพาะมาตรฐานที่ 2 การจัดการศึกษาต่อเนื่อง ซึ่งเป็นพันธกิจแรกของสถาบัน กศน.ภาคเหนือ และพบว่ามีกลุ่มเป้าหมายมีจำนวนน้อย ยังไม่สอดรับกับวิสัยทัศน์ของสถาบัน ดังนั้นหากโครงการใดที่มีลักษณะเป็นการอบรม ควรจะระบุในโครงการด้วยว่า สอดคล้องกับมาตรฐานที่ 2
                    8. อ.ดุษณีย์  เสนอควรรีบประเมินแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4 ปี (พ.ศ.2552-2555)  โดยงานแผนงานอาจเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินเฉพาะกิจ         

                    ประธาน  :  ในเรื่องการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง   ในปีงบประมาณ 2555  จะแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยงใหม่ เพื่อควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร โดยให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วม มอบส่วนอำนวยการเป็นต้นเรื่อง

                    ที่ประชุม เสนอให้มีการทบทวนเรื่องการประเมินความเสี่ยง โดยให้มีการประชุมคณะกรรมการประเมินความเสี่ยง ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ และต้องร่วมกันพิจารณาว่า โดยภาพรวมของสถาบัน กศน.ภาคเหนือ มีความเสี่ยงในเรื่องใดบ้าง  และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน จากนั้นจึงไปดำเนินการประเมินความเสี่ยงตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ และอยากให้การประเมินความเสี่ยงดังกล่าวมีผลต่อการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขอย่างจริงจัง 

เลิกประชุมเวลา  11.50 น.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น