วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู

(๑) ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
(๒) การพัฒนาหลักสูตร
(๓) การจัดการเรียนรู้
(๔) จิตวิทยาสำหรับครู
(๕) การวัดและประเมินผลการศึกษา
(๖) การบริหารจัดการในห้องเรียน
(๗) การวิจัยทางการศึกษา
(๘) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
(๙) ความเป็นครู

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

ย้อนอดีตสู่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ

สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ
(Northern Regional Institute for Non-Formal and Informal Education)

สถาบัน กศน.ภาคเหนือ เป็นสถานศึกษาขึ้นตรง สังกัด 
สำนักงาน กศน.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
จัดตั้งตามประกาศของพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551
ที่ตั้งของสถาบัน กศน.ภาคเหนืออยู่เลขที่ 193 ถนนจามเทวี ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง รหัสไปรษณีย์ 52100
ภารกิจและหน้าที่
ทำหน้าที่ในการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร สื่อ กิจกรรม การเรียนรู้ และพัฒนาบุคลากร ที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมถึงการจัดทำมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้สอดคล้องกับสภาพ ปัญหาและความต้องการประชาชนในภูมิภาค กลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการ ได้แก่ บุคลากรของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน.ในภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ สำนักงาน กศน.จังหวัด ศูนย์บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา รวมทั้งสิ้น 214 สถานศึกษา

ประวัติการจัดตั้ง
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือเป็นสถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2519 ก่อนการประกาศตั้งศูนย์ (15 ตุลาคม 2519) กองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษาได้ดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียนในรูปของศูนย์การศึกษาผู้ใหญ่ภาคเหนือ ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อได้ประกาศตั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือที่จังหวัดลำปางแล้วได้ยุบศูนย์การศึกษาผู้ใหญ่ภาคเหนือ โดยแบ่งทรัพย์สินและบุคลากรออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งไปจัดตั้งเป็นศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนประจำภาคเหนือจังหวัดลำปาง ส่วนหนึ่งจัดตั้งเป็นศูนย์การศึกษาประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ ณ ที่เดิม คือบริเวณตรงข้ามสนามกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อศูนย์ใหม่เป็น ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ ส่วนศูนย์การศึกษาประชาชนจังหวัดเชียงใหม่เปลี่ยนเป็นศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์การศึกษาผู้ใหญ่ภาคเหนือได้ย้ายจากจังหวัดเชียงใหม่มาตั้ง ณ ที่บ้านน้ำโท้ง หมู่ที่ 5 ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีเนื้อที่ประมาณ 220 ไร่ ซึ่งเป็นเวลาที่การก่อสร้างอาคารที่ทำการได้ก่อสร้างเสร็จแล้วรุ่นแรก (เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อเดือนพฤษภาคม 2519) มีเจ้าหน้าที่และข้าราชการจากศูนย์การศึกษาผู้ใหญ่ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ที่สมัครใจมาทำงานที่จังหวัดลำปาง 20 คน การก่อสร้างได้สร้างบ้านพักและที่ทำการ ต่าง ๆ เรื่อยมาและเสร็จเรียบร้อยตามโครงการเงินกู้จากธนาคารโลกเมื่อสิ้นปี 2523 และมีพิธีเปิดศูนย์ฯ โดยอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียนคนแรก คือ นายบรรจง ชูสกุลชาติ ได้มาเป็นประธานเปิดในวันที่ 27 ธันวาคม 2522

นอกจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือเหนือแล้ว การประกาศจัดตั้งตั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคนั้นยังได้ได้ดำเนินการประกาศจัดตั้งพร้อมกันอีก 3 แห่งรวม 4 แห่ง คือ ภาคกลางที่ราชบุรี ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยรัฐบาลได้กู้เงินจากธนาคารโลกมาดำเนินการ


รูปแบบการก่อสร้างของศูนย์
ลักษณะการก่อสร้างอาคารทั้ง 4 ศูนย์ฯ มีลักษณะที่แตกต่างกันคือ ที่ศูนย์ฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะใช้สถานที่ ศ.อ.ศ.อ. เดิม โดยการปรับปรุง ซ่อมแซม ต่อเติมอาคารเดิมที่มีอยู่ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ เป็นศูนย์ที่สร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด โดย
ศูนย์ฯ ภาคกลางและศูนย์ฯ ภาคใต้ ได้ใช้รูปแบบอาคารของบริษัทชัชวาลเดอร์เวอร์เกอร์ทั้งสิ้น ซึ่งบริษัทดังกล่าวธนาคารโลกมีสัญญาจ้างให้เป็นผู้ออกแบบอาคารต่าง ๆ มีอาคารที่ทำการห้องสมุด โรงฝึกงาน บ้านพักครูและภารโรง
สำหรับศูนย์ฯภาคเหนือ มีลักษณะพิเศษคือ อาคารที่สร้งในปี 2519 ที่ใช้แบบของสถาปนิก กรมสามัญศึกษา ได้แก่ ตึกบริหาร ตึกฝ่าย หอประชุม โรงอาหาร และบ้านพักครู จำนวน 4 หลัง และอาคารที่ประชุมสัมมนาย่อยอีก 2 หลัง ส่วนอาคารอื่น ๆ ที่สร้างในรุ่นต่อมาใช้แบบของบริษัทชัชวาลเดอร์เวอร์เกอร์ รวม 12 หลัง ซึ่งมีผังบริเวณศูนย์ฯ ดังภาพ


การปรับปรุงพื้นที่บริเวณ
พิ้นที่เดิม..จังหวัดลำปางยกให้เป็นสถานที่ตั้งศูนย์ฯ ประมาณ 300 ไร่ แต่เนื่องจากมีราษฎรเข้ามาจับจองใช้ทำประโยชน์ เช่น ปลูกอ้อย ปลูกผัก อยู่ประมาณ 10 ครอบครัว เพื่อเป็นการแก้ปัญหาทางจังหวัดจึงแบ่งให้ราษฎรเหล่านี้ได้ใช้เป็นที่ทำกิน ซึ่งอยู่อีกส่วนหนึ่งทางด้านหลังประมาณ 90 ไร่ และได้รับราษฎรบางส่วนเข้ามาเป็นคนงาน ภารโรง และยามของศูนย์ฯ สภาพที่ดินภายในศูนย์ฯ เป็นที่ดินเลว ต้องมีการปรับปรุงอย่างมาก ตลอดจนการปรับตกแต่ง วางแผนผัง จัดแบ่งเป็นที่ทำการเกษตร ที่สร้างอาคาร ถนน บ้านพัก จนถึงปัจจุบันได้จัดปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ประดับ ซึ่งทางศูนย์ฯ ได้เน้นการปลูกไม้ผล มีมะม่วง มะขาม น้อยหน่า ส้มโอ ลำไย ในปี 2527 สามารถสร้างรายได้จากมะม่วง ประมาณ 5,000 บาท นอกจากไม้ผลแล้วยังมีคอกเลี้ยงวัวประมาณ 60 ไร่ ขณะนั้นมีวัว 26 ตัว มีพ่อพันธุ์วัว 2 ตัว และมีการเลี้ยงหมู การเลี้ยงสัตว์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ที่ดินอุดมสมบูรณ์ และได้ปรับให้สอดคล้องกับความจำเป็นตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับ สถานการณ์และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย คือมีการปรับโครงสร้างการบริหาร และภารกิจ

บุคลากรนั้บตั้งแต่ปี 2520 ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นของศูนย์ฯ มีบุคลากรซึ่งเป็นข้าราชการและลูกจ้างประจำรวมกัน 20 คน ทางกรมสามัญศึกษา (ในสมัยนั้น) ได้ตั้งอัตราข้าราชการของศูนย์ฯ ภาคไว้ 87 อัตรา ต่อมาในปี 2520 ได้เพิ่มให้อีก 5 อัตราจนถึงปี พ.ศ. 2527 มีข้าราชการ 92 อัตรา ลูกจ้างประจำซึ่งเป็นครูสอนวิชาชีพ 1 อัตรา พนักงานพิมพ์ใน โรงพิมพ์ 3 อัตรา พนักงานขับรถ 8 อัตรา ที่เหลือ 36 อัตราเป็นภารโรง ยามและคนสวน
ปัจจุบัน ปีงบประมาณ 2555 สถาบัน กศน.ภาคเหนือ มีข้าราชการ 20 คน ลูกจ้างประจำ 21 คน ลูกจ้างชั่วคราว 3 คน รายละเอียดเพิ่มเติม

โครงสร้างการบริหารงาน
สถาบัน กศน.ภาคเหนือ ได้ยึดหลักการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม และกระจายการบริหารงานในรูปแบบกลุ่มงาน เพื่อช่วยในการบริหารงานในระดับกลุ่ม เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน และสามารถตอบสนองต่อนโยบายของสำนักงาน กศน.
ปัจจุบัน(2555) สถาบัน กศน.ภาคเหนือ แบ่งเป็น 5 กลุ่มงาน ดังนี้
1. กลุ่มอำนวยการ
2. กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษานอกระบบและอัธยาศัย
3. กลุ่มจัดการศึกษานอกระบบประเภทต่อเนื่องและการศึกษาอัธยาศัย
4. กลุ่มเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
5. กลุ่มพัฒนาการศึกษาบนพื้นที่สูงและโครงการพระราชดำริฯ

ย้อนอดีตภาพแห่งความหลังสมัยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ

สถาบัน กศน.ภาคเหนือ เพิ่มหน้าการเรียนรู้บน Facebook


ขอประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกบนสังคมออนไลน์ให้ทราบว่า ขณะนี้ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ ได้ พัฒนา Facebook ให้สามารถเป็นฐานการเรียนรู้ได้อีกช่องทาง ติดตามความเคลื่อนไหวในสาระการเรียนรู้ที่  http://www.facebook.com/northnfe.learning
นอกจากนี้ท่านยังสามารถติดต่อพูดคุยกับเรา สถาบัน กศน.ภาคเหนือ ผ่าน Facebook ได้เช่นกันที่

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

การประชุมประจำเดือนมีนาคม 2555

ปรัชญา วิสัยทัศน์ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ

ปรัชญา  มนุษย์มีความแตกต่างและมีศักยภาพทางการเรียนรู้ที่หลากหลาย หากได้รับ และมีโอกาสอย่างเพียงพอจะสามารถดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

วิสัยทัศน์
เป็นสถานศึกษาที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาการศึกษาต่อเนื่องและการศึกษาตามอัธยาศัย

พันธกิจ  1. จัดและพัฒนาการศึกษานอกระบบหลักสูตรต่อเนื่องและการศึกษาตามอัธยาศัย
2. วิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย
3. พัฒนามาตรฐานการศึกษาต่อเนื่องและการศึกษาตามอัธยาศัย
4. ส่งเสริม สนับสนุนหน่วยงาน สถานศึกษา กศน.และภาคีเครือข่ายในภูมิภาคเพื่อพัฒนาการศึกษาต่อเนื่องและการศึกษาตามอัธยาศัย
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการของสถานศึกษาเพื่อประกันคุณภาพการศึกษา

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

การประชุมคณะกรรมการวิชาการ 22 มีนาคม 2555


การประชุมคณะกรรมการวิชาการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๕  เริ่มประชุมเวลา ๑๐.๐๐ น.  มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
                   ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย
๑.    นายสมศักดิ์  วชิรพันธุ์
๒.    นางสาวกมลธรรม  ชื่นพันธุ์ 
๓.    นางณิชากร  เมตาภรณ์
๔.    นางดุษณี  เหลี่ยมพันธุ์
๕.    นายนิรันดร์  ยงไสว
๖.    นายสุวัฒน์  ธรรมสุนทร
๗.  นางกานดา  เพ็ชรักษ์
๘.    นางอุบลรัตน์  มีโชค
๙.  นางวราพรรณ  พูลสวัสดิ์
ตามที่ส่วนอำนวยการ และส่วนจัดการศึกษานอกระบบฯ ได้เสนอขออนุมัติหลักการจำนวน 4 โครงการ และงานแผนงานได้นัดประชุมกรรมการวิชาการเพื่อพิจารณาโครงการให้ให้เป็นไปตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ ตามระบบประกันคุณภาพของสถาบัน กศน.ภาคเหนือ และนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน.   จำนวน 4 โครงการ คือ
๑.    โครงการสาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุเหลือใช้
๒.    โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดทำข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
๓.    โครงการจัดและพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
๔.    โครงการพัฒนาแนวทางการวัดและประเมินผลหลักสูตรวิชาเลือกหลักสูตร
การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  รายละเอียดดังโครงการที่แนบ

บัดนี้ คณะกรรมการวิชาการได้ประชุมพิจารณาโครงการดังกล่าวและให้ข้อเสนอแนะ
สรุปได้ดังนี้

๑.  โครงการสาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุเหลือใช้ (โครงการส่วนอำนวยการ) 
สรุปผลการพิจารณา
คณะกรรมการวิชาการ  เสนอให้เจ้าของโครงการกลับไปเขียนโครงการให้ครบและ
ถูกต้องตามแบบเขียนโครงการของสำนักงานกำหนด และให้หัวหน้าส่วนตรวจสอบความเรียบร้อย และผ่านแผนงานเพื่อนำเสนอกรรมการวิชาการพิจารณาโครงการ  และนำเสนอผู้อำนวยการเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
๒.  โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดทำข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  (โครงการส่วนอำนวยการ) 
สรุปผลการพิจารณา
คณะกรรมการวิชาการส่วนใหญ่ได้มีการเสนอว่า โครงการดังกล่าวเนื้องานและกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นของส่วนจัดการศึกษานอกระบบฯ  ดังนั้นให้โครงการนี้ควรปรับจากเดิมให้ส่วนอำนวยการรับผิดชอบ ให้เป็นส่วนจัดการศึกษานอกระบบรับผิดชอบ  ส่วนโครงการมีการปรับเนื้อหาตามหัวข้อที่กำหนด  ซึ่งรายละเอียดการปรับและแก้ไขในแต่ละข้อได้บันทึกเพื่อแก้ไขในรายละเอียดของโครงการ เพื่อเสนอผู้อำนวยการพิจารณาอนุมัติต่อไป
 ๓.โครงการจัดและพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้สถาบัน กศน.ภาคเหนือ (โครงการส่วนจัดการศึกษานอกระบบฯ)
สรุปผลการพิจารณา
คณะกรรมการได้พิจารณาดูความสอดคล้องระหว่างโครงการ/กิจกรรม/องค์ประกอบของโครงการ ค่อนข้างสมบูรณ์และถูกต้อง แต่ให้ปรับแก้เนื้อหาบ้างเล็กน้อยให้เหมาะสม  และเสนอให้โครงการทำตามมาตรฐาน กศน.ครบตามตัวบ่งชี้ทั้ง 4 ข้อ
                   ๔. โครงการพัฒนาแนวทางการวัดและประเมินผลหลักสูตรวิชาเลือกหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รายละเอียดดังโครงการที่แนบ
                   สรุปผลการพิจารณา
                      คณะกรรมการได้วิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างโครงการ/กิจกรรม/องค์ประกอบของโครงการ ให้มีการปรับแก้เนื้อหาในเรื่องของหลักการและเหตุผล โครงการอธิบายเฉพาะวิชาเลือกอย่างเดียวควรปรับเนื้อหาให้ครบถ้วนมากกว่าเดิม ตัดเพิ่มแก้ไขวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย และวิธีการดำเนินการส่วนรายละเอียดอื่น ๆมีแก้ไขบ้างเล็กน้อย ได้บันทึกรายละเอียดอื่น ๆ เพื่อปรับแก้ไขโครงการเรียบร้อยแล้ว
                   สรุปผลการประชุม     คณะกรรมการวิชาการได้พิจารณาและได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงโครงการครบทั้ง ๔ โครงการ  โดยมอบให้หัวหน้าส่วนทุกส่วนนำผลการพิจาณาเพื่อนำไปปรับปรุงโครงการ และเมื่อแก้ไขปรับปรุงแล้วโครงการแล้ว ให้นำส่งแผนงานเพื่อตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง และนำเสนอขออนุมัติโครงการต่อไป
                   ข้อเสนอแนะอื่น ๆ
                คณะกรรมการวิชาการเสนอขอให้แต่งตั้งกรรมการวิชาการใหม่แทนกรรมการชุดเดิม เนื่องจากมีกรรมการบางท่านย้ายไปหน่วยงานอื่น  โดยให้ส่วนแต่ละส่วนมีสัดส่วนกรรมการส่วนละ 2 คน คือ หัวหน้าส่วน 1 คน บุคลากรในฝ่าย 1 คน  ส่วนอำนวยการมี 3 คน คือ หัวหน้าส่วน งานแผน และงานประกัน   

เลิกประชุมเวลา ๑๕.๐๐ น.

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

การประชุมสภากาแฟ 12 มีนาคม 2555

การประชุมสภากาแฟ   วันจันทร์ที่  12  มีนาคม  2555   เริ่มประชุมเวลา  09.00 น. มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย
1.  นายประเสริฐ  หอมดี      ผู้อำนวยการ            ประธานการประชุม
2. นายสมศักดิ์  วชิรพันธุ์      หัวหน้าส่วนพัฒนาการศึกษาบนพื้นที่สูง                                 
3. นายทวี  เที้ยธิทรัพย์          แทนหัวหน้าส่วนวิจัยฯ                    
4. นางดุษณีย์  เหลี่ยมพันธุ์    หัวหน้าส่วนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
5. นางณิชากร   เมตาภรณ์    หัวหน้าส่วนจัดการศึกษาฯ
6. นางวราพรรณ  พูลสวัสดิ์   งานแผนงาน ส่วนอำนวยการ

          เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ
เรื่องที่1.   สำนักงาน กศน.แจ้งการสรรงบประมาณปีงบประมาณ 2555 ดังนี้
                       - งบดำเนินงานเพื่อเป็นค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุและค่าสาธารณูปโภค จำนวน 1,304,880  บาท
                      -  งบกิจกรรมจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อซื้อหนังสือสื่อห้องสมุด  (ศูนย์การเรียนรู้สถาบัน กศน.ภาคเหนือ)  จำนวน 30,000  บาท  ขอให้บริหารจัดการให้ดีในเรื่องของศูนย์การเรียนรู้  โดยให้ดูตั้งแต่การประเมินความต้องการของผู้รับบริการจนถึงการประเมินความพึงพอใจ  และให้ดูสถิติการเข้าใช้ด้วย 
                      -   งบโครงการจัดการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร เพื่อสนองงานตาม
พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี    จำนวน  2,527,500 บาท   เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาครู กพด.ซึ่งหากอบรมครู กพด. ให้บริหารจัดการให้ดี และหากจะอบรมครู ศศช.รวมด้วยทั้งหมดก็ขอให้เบิกค่าใช้จ่ายจากต้นสังกัด  ส่วนโครงการจัดเลี้ยงอาหาร  
                    -ส่วนงบประมาณโครงการที่สถาบัน กศน.ภาคเหนือขอไปนั้นขณะนี้ สำนักงาน กศน.ยังไม่ได้แจ้งว่าจะได้รับโครงการไหนบ้าง
เรื่องที่ 2  ขณะนี้ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ เรากำลังดำเนินการตรวจกระดาษคำตอบข้อสอบปลายภาคเรียน2/54  ให้กับสถานศึกษาในเขต 17 จังหวัดภาคเหนือ  ก็ฝากให้ส่วนจัดการศึกษาฯ ดูแลความเรียบร้อยด้วย
         เรื่องที่ 3  ตามที่ได้ออกไปนิเทศสนามสอบที่  อ.ไชยปราการ และอำเภอสันทราย  เมื่อวันที่เสาร์ที่ 10 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมา ปัญหาที่พบที่อำเภอไชยปราการ คือ ไม่มีข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ ม.ต้น หลักสูตร 51   และที่อำเภอสันทราย ไม่มีวิชาทักษะการประกอบอาชีพ   ซึ่งข้อสอบส่วนกลางเป็นผู้จัดส่งให้   ก็ให้ดูว่าจังหวัดอื่นที่ออกนิเทศมีปัญหาอะไรบ้าง และรวบรวมเพื่อสรุปรายงานให้สำนักงาน กศน.ทราบต่อไป
          เรื่องที่ 4   การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน   กลุ่มแผนงานให้เขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ  ซึ่งเป็นโครงการที่นอกเหนือจากโครงการปกติที่เราเสนอขอไป   สิ่งที่เราจะต้องคิดต้องทำคือ การสร้างจุดขาย คือ เราต้องมีจุดขาย และเป็นความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ  โครงการดังกล่าวการสร้างกระแสเป็นสิ่งสำคัญ และต้องทำพร้อมๆกับการทำโครงการ 
                    ข้อเสนอแนะของประธาน :  มอบ อ.ดุษณีย์  เหลี่ยมพันธุ์  และคณะ เป็นผู้เขียนโครงการ  เพื่อเสนอกลุ่มแผนงานภายในเวลา 14.00 น.  วันที่ 12 มีนาคม 2555 

                    อ.ดุษณีย์  เหลี่ยมพันธุ์  :  จากการที่ อ.สมศักดิ์  สุภานนท์  ซึ่งเป็นผู้ดูแลโรงพิมพ์ ได้เสียชีวิต  ขอเรียนปรึกษาว่าจะมอบงานให้ใครดูแลต่อไป
                    ประธาน :  มอบให้นายไพรสรรค์  เมืองคำบุตร เป็นผู้ดูแลแทน  และให้นายมานิตย์  กาใจคำเป็นผู้ช่วย   แต่ก็ให้ทำงานในหน้าที่ปกติเหมือนเดิม  และมอบหมายงานบุคลากรให้ทำคำสั่งมอบหมายงานเพิ่มเติมอีกหน้าที่หนึ่ง

เลิกประชุมเวลา  10.00 น.      

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

การประชุมสภากาแฟ 5 มีนาคม 2555

การประชุมสภากาแฟ   วันจันทร์ที่  5  มีนาคม  2555   เริ่มประชุมเวลา  09.00 น. มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1. นางนาถยา  ผิวมั่นกิจ                  รองผู้อำนวยการ        ประธานการประชุม     
2. นายอุดมศักดิ์  วชิรพันธุ์              หัวหน้าส่วนอำนวยการ          
3. นายสมศักดิ์  วชิรพันธุ์                หัวหน้าส่วนพัฒนาการศึกษาบนพื้นที่สูง                                            
4.  นายนิรันดร์  ยงไสว                    หัวหน้าส่วนวิจัยฯ                           
5.  นางดุษณีย์  เหลี่ยมพันธุ์            หัวหน้าส่วนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
6.  นางณิชากร   เมตาภรณ์            หัวหน้าส่วนจัดการศึกษาฯ
7.  นางวราพรรณ  พูลสวัสดิ์           งานแผนงาน ส่วนอำนวยการ

เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ
เรื่องที่1.  การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เมืองลำปาง  สำนักงานจังหวัดลำปางได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เมืองลำปาง  และได้แต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบัน กศน.ภาคเหนือ และผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดลำปาง เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการด้านประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์และการศึกษา  ซึ่งขณะนี้ โครงการอยู่ในระหว่างการพิจารณารูปแบบด้านกายภาพและการบริหารจัดการ 
เรื่องที่ 2  ในวันอาทิตย์ ที่ 4 มีนาคม 2555ที่ผ่านมาสำนักงาน  กศน.ได้กำหนดจัดงานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงาน กศน.ปี 2555   ณ หอประชุมคุรุสภา  ซึ่งในการจัดงานดังกล่าว ได้จัดให้มีพิธีมอบโล่รางวัลและเกียรติบัตรแก่ผู้ที่ได้รับรางวัลดีเด่นในด้านต่าง ๆ ประจำปี 2554  ซึ่งในส่วนของสถาบัน กศน.ภาคเหนือ ท่านผู้อำนวยการก็ได้ไปร่วมงานดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว 
ที่ประชุมเสนอว่า   : ในส่วนของสถาบัน กศน.ภาคเหนือ ไม่มีบุคลากรของสถาบันเข้ารับรางวัลประเภทใด ๆ  เหตุผลเพราะไม่มีใครกล้าเสนอตัวเอง  ซึ่งในโอกาสต่อไป เห็นควรตั้งคณะกรรมการพิจารณาบุคลากรในสถาบันเข้าร่วมสมัครให้ครบทุกประเภท   แทนการสมัครด้วยตนเอง
เรื่องที่ 3  สืบเนื่องจากที่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเลื่อนและปรับค่าจ้างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และคณะกรรมกรรมการได้รายงานผลการพิจารณาให้ท่านผู้อำนวยการทราบแล้วนั้น
มติที่ประชุม ให้ส่วนที่รับผิดชอบดำเนินการต่อ โดยเสนออัตราค่าจ้างตามที่คณะกรรมการเสนอไว้ดังนี้  ส่วนอำนวยการ จำนวน  3 คน  ส่วนพัฒนาการศึกษาบนพื้นที่สูง 1  คน  ส่วนจัดการศึกษา  1 คน  คือ
1. นายมานะ  ไชยากุล           อัตราเดือนละ 8,450  บาท
2. นางสาวกัลยาณี  กองนำ     อัตราเดือนละ  8,450  บาท
3. นายประดิษฐ์  โตตะเคียร    อัตราเดือนละ  7,460  บาท
4. นางทัศนีย์ เปี้ยปลูก            อัตราเดือนละ    8,450    บาท
5. นางมุกดา  ภูตาสืบ             อัตราเดือนละ  8,450  บาท 
          โดยให้แต่ละส่วนฯ เริ่มดำเนินการเสนอค่าจ้างรายที่ 1-4  ตั้งแต่วันที 1 เมษายน 30 กันยายน 2555  เป็นต้นไป  เนื่องจากสัญจ้างลูกจ้างทั้ง 4 ราย จะหมดในวันที่ 31 มีนาคม 2555 ส่วนรายที่ 5  นางมุกดา  ภูตาสืบ ได้ทำสัญญาจ้างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 30 กันยายน 2555  เห็นควรขอความเห็นชอบท่านผู้อำนวยการว่าจะสามารถดำเนินการได้เมื่อไหร่

เรื่องแจ้งจากส่วนต่าง ๆ  
ส่วนวิจัยและพัฒนา  :  อ.นิรันดร์  ยงไสว   ตามที่ผู้อำนวยการมอบหมายให้ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการประเมินแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาปีงบประมาณ 2552-2555  นั้น  จากผลการประเมินแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขอสรุปข้อเสนอแนะ ดังนี้
ขั้นนำไปใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาระยะ 4 ปี (2556-2559)
- ปรับวิสัยทัศน์ให้สอดคล้องกับลักษณะงานที่เป็นจุดเน้นของสถาบัน กศน.ภาคเหนือ ที่มีน้ำหนักงาน เน้นไปที่มาตรฐานที่ 6 คุณภาพของการพัฒนาบุคลากร การพัฒนางานวิชาการและคุณภาพการวิจัย
- ปรับกลยุทธ์และเป้าหมายภายใต้กลยุทธ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวบ่งชี้ในระบบ
  ประกันคุณภาพ
- นำเอากลยุทธ์และเป้าหมายที่ระบุไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาระยะ 4 ปี มาเขียนระบุไว้ในโครงการว่าโครงการที่จะทำต่อไปสอดคล้องกับกลยุทธ์ และเป้าหมายข้อใด  นอกเหนือการนำนโยบายและจุดเน้นของสำนักงาน กศน. และมาตรฐานตัวบ่งชี้ ในระบบประกันคุณภาพ ซึ่งนำมากำกับตั้งแต่ปี 2553-2555
ขั้นการแปลงแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาระยะ 4 ปี (255- 2559)  สู่การปฏิบัติ
- สร้างความรู้ความเข้าใจแนวคิดและสาระสำคัญ ของแผนพัฒนาฯ ระยะ 4 ปี โดยเน้นพัฒนาบุคลากรให้เข้าใจ ประโยชน์/ผลกระทบของแผนฯ ต่อระบบประกันคุณภาพ และควรจัดให้ข้าราชการทุกคนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน ในการจัดทำแผนตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติการ ร่วมประเมินผล จากกระบวนการจัดทำ และกระบวนการใช้แผน ซึ่งนับเป็นหลักสูตรหนึ่งในการพัฒนาบุคลากร
- การกำกับแผนพัฒนาฯ ระยะ 4 ปี เมื่อสิ้นปีงบประมาณแต่ละปีให้ดำเนินการประเมินผลเปรียบเทียบผลกับแผน และนำผลการประเมินไปปรับปรงแผนที่ทำงานในปีต่อไป
- การประเมินผลระยะกลางแผน และเมื่อสิ้นสุด เพื่อประเมินว่าควรปรับปรุงอย่างไร และประเมินผลลัพธ์ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ควรมอบหมายให้มีคณะกรรมการดูแลเรื่องนี้
- การศึกษาผลกระทบ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของแผนฯ ผ่านไปเป็นเวลา 3-5 ปี ควรทำการศึกษาวิธีวิทยาเพื่อการประเมินดังกล่าว แล้วนำมาใช้ปฏิบัติการเพื่อติดตามดูความเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มผู้ใช้แผนฯ ระยะ 4 ปี
ข้อเสนอแนะที่ประชุม  :  ควรให้งานแผนประสานขอแผนพัฒนาจากกลุ่มแผนงาน สำนักงาน กศน. เพื่อนำมาประกอบเป็นข้อมูลการจัดทำแผนพัฒนาฯ  และนำผลการประเมินแผนพัฒนาของสถาบันมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาปี 2556-2559 ต่อไป

เลิกประชุมเวลา  10.30 น. 

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การประชุมสภากาแฟ 27 กุมภาพันธ์ 2555

การประชุมสภากาแฟ   วันจันทร์ที่  6  กุมภาพันธ์  2555   เริ่มประชุมเวลา  09.00 น. มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1. นางนาถยา  ผิวมั่นกิจ       รองผู้อำนวยการ        ประธานการประชุม     
2. นายอุดมศักดิ์  วชิรพันธุ์    หัวหน้าส่วนอำนวยการ          
3. นายสมศักดิ์  วชิรพันธุ์      หัวหน้าส่วนพัฒนาการศึกษาบนพื้นที่สูง               
4.  นายนิรันดร์  ยงไสว        หัวหน้าส่วนวิจัยฯ                           
5.  นางดุษณีย์  เหลี่ยมพันธุ์   หัวหน้าส่วนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
6.  นางณิชากร   เมตาภรณ์   หัวหน้าส่วนจัดการศึกษาฯ
7.  นางวราพรรณ  พูลสวัสดิ์  งานแผนงาน ส่วนอำนวยการ

เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ
เรื่องที่1.  สำนักงาน กศน. กำหนดจัดงานชุมนุมลูกเสือ กศน. โดยใช้ชื่องานว่า “100ปีลูกเสือไทยร้อยใจ กศน. ในระหว่างวันที่ 12-16 มีนาคม 2555  ณ ค่ายลูกเสื่อวชิราวุธ อำเภอศรีราชา  จังหวัดชลบุรี และที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานชุมนุมลูกเสือ ได้มอบหมายให้สถาบัน กศนงภาคเหนือดำเนินการดังนี้
          1.1 ประสานสำนักงาน กศน.จังหวัดและสถานศึกษาในเขตภาคเหนือ ส่งผู้เข้าร่วมชุมนุมลูกเสือฯ ตามความสมัครใจ  จำนวน  300  คน  ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวถือเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของนักศึกษา
          1.2  ประสานงานการจัดกิจกรรมย่อยของลูกเสือในเขตภาคเหนือ ซึ่งมี ผอ.สุรพงษ์  ไชยวงศ์  ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดนครสวรรค์  เป็นประธานในเขตภาคเหนือ  โดยแบ่งให้แต่ละจังหวัดจัดกิจกรรมการแสดง   และ ผอ.สถาบัน กศน. ภาคเหนือจะต้องมีหน้าที่ไปนิเทศติดตามในค่ายชุมนุมลูกเสือของภาคเหนือ
เรื่องที่ 2  การยื่นเสียภาษีเงินได้  ภ.ง.ด.91  ขอให้บุคลากรในสถาบัน กศนงภาคเหนือทุกท่านดำเนินการยื่นเสียภาษีให้เรียบร้อยภายในวันที่ 31 มีนาคม 2555 
เรื่องที่ 3  สำนักงาน กศน.  มอบหมายให้สถาบัน กศน.ภาคเหนือเป็นผู้ดำเนินการโครงการทุนการศึกษาเด็กสภาวะยากลำบากในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือ เพื่อพิจารณาจัดสรรทุนการศึกษาของเด็กในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือ 8 จังหวัด ที่จัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการฝึกทักษะอาชีพ   ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก ลำพูน และพะเยา  จำนวน 6,385  คน ๆ ละ 5,000  บาท  เป็นเงิน 31,925,000  บาท  และค่าบริหารจัดการโครงการสำหรับสถาบัน กศน.ภาคเหนือและสำนักงาน กศน.จังหวัด 8 จังหวัด จำนวน 1,789,800  บาท   ดังนั้น จึงขอมอบหมายให้ส่วนการศึกษาพื้นที่สูงพิจาณาดำเนินการจัดทำรายละเอียด แจ้งให้  สำนักงาน กศน.เพื่อดำเนินการอนุมัติจัดสรรงบประมาณต่อไป
เรื่องที่ 4  สำนักงาน กศน.ได้จัดทำร่างมาตรฐานและตัวบ่งชี้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่พัฒนาขึ้นใหม่  ซึ่งขณะนี้รอเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนและประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ก่อนที่จะนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงนามประกาศใช้ต่อไปนั้น  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและเป็นแนวการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 จึงขอให้สถานศึกษาศึกษาร่างมาตรฐานและตัวบ่งชี้ดังกล่าว   ซึ่งในส่วนของสถาบัน กศน.ภาค  จะมี 7 มาตรฐาน 22  ตัวบ่งชี้   ซึ่งสามารถศึกษาและดาวโหลดได้จาก www.nfe.go.th/0405

เรื่องแจ้งจากส่วนต่าง ๆ  
ส่วนอำนวยการ  :  อ.อุดมศักดิ์    แจ้งว่า สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 1  จังหวัดเชียงใหม่ขอความอนุเคราะห์สนับสนุนบัตรวิ่ง แจ่งหัวลินวิ่งมินิมาราธอน ครั้งที่ 1  จำนวน 10 บัตร  ราคา 1,000 บาท  เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย ให้กับเยาวชน นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป และสมทบทุนการจัดซื้อครุภัณฑ์หอพักแจ่งหัวลิน (สบย.1) 

          มติที่ประชุม  :  ขอความอนุเคราะห์ข้าราชการในสถาบัน กศน. ภาคเหนือ ท่านละ 30 บาท เพื่อเป็นค่าบัตร  ส่วนที่เหลือจำนวน 140  บาท ขอใช้เงินสวัสดิการ  โดยขอให้จ่ายเงินที่หัวหน้าส่วนทุกส่วนเพื่อนำส่งให้ส่วนอำนวยการดำเนินการจัดส่งให้สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ต่อไป  
ส่วนจัดการศึกษาฯ :  อ.ณิชากร  มีเรื่องแจ้งดังนี้
1. ส่วนจัดการศึกษาได้ดำเนินการจัดชุดข้อสอบภาคเรียนที่ 2/2554  เสร็จเรียบร้อยแล้ว  และได้บรรจุกล่องไปแล้วส่วนหนึ่งคือระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา และขณะนี้ได้ดำเนินการบรรจุกล่องระดับม.ปลาย  ซึ่งคาดจะแล้วเสร็จในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555       ส่วนอำนวยการ จึงขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ร่วมแรงร่วมใจให้ความอนุเคราะห์ในการจัดทำชุดข้อสอบในครั้งนี้
          2. เงินอุดหนุน ที่กันไว้ ขณะนี้ได้ดำเนินการจัดทำโครงการจัดทำแบบทดสอบเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษานอกระบบหลักสูตรในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 2/54   และโครงการพัฒนาระบบการจัดและประเมินผลด้วยระบบอีเล็กทรอนิคส์ (E-testing)    และนำเสนอแผนงานเพื่อให้คณะกรรมการวิชาการพิจารณาต่อไป  ส่วนโครงการพัฒนาบุคลากรวงเงิน 5 แสน นั้นได้มอบให้ส่วนอำนวยการเป็นผู้เขียนโครงการ คือ พัฒนา กศน.ตำบลในเรื่องการจัดทำข้อสอบ  และพัฒนาบุคลากรในสถาบัน กศน.  ซึ่งในส่วนพัฒนาบุคลากรสถาบันฯ ได้ดำเนินการไปแล้วส่วนหนึ่งที่ กัซซัน ขุนตาล จังหวัดลำพูน

ข้อเสนอแนะประธาน  :  นัดประชุมคณะกรรมการวิชาการเพื่อพิจารณาโครงการ  ในวันที่ 1 มีนาคม 2555  เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 2 อาคารสัมมนา
         
ส่วนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  : 
อ.ดุษณีย์   ในเรื่องการนำ Face book  มาพัฒนาและจัดการศึกษาตามอัธยาศัยนั้น   ให้ดำเนินการจัดทำข้อสอบเสร็จเรียบร้อย  อ.สุวัฒน์  จะดำเนินการอบรมอบรมกรของสถาบัน กศน.ภาคเหนือ ในด้านการจัดทำ  Face book  ในรูปแบบการเรียนการสอน 

ประธาน :  สรุปขอเน้นย้ำให้ดำเนินกิจกรรมตามที่ได้กันเงินไว้  ก่อนที่งบประมาณใหม่จะจัดสรรมา

เลิกประชุมเวลา  10.45 น.     

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การประชุมคณะกรรมการวิชาการ 10 กุมภาพันธ์ 2555

บันทึกข้อความ

ส่วนราชการ    สถาบัน กศน.ภาคเหนือ      ส่วนอำนวยการ  โทร.๑๑๓
ที่ สอ(๕)...... ........../๒๕๕๕                วันที่      ๑๐   กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
เรื่อง  รายงานผลการประชุมคณะกรรมการวิชาการ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
เรียน   ผู้อำนวยการสถาบัน กศน.ภาคเหนือ

                                สืบเนื่องจากผู้อำนวยการสถาบัน กศน. มอบให้คณะกรรมการวิชาการพิจารณาโครงการชุดวิชาพัฒนาอาชีพจัดทำชุดการเรียนหลักสูตร การกรีดและการทำแผ่นยางพารา และโครงการจัดแหล่งเรียนรู้ ยางพารา ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ และกรอบการประเมินแผนพัฒนาคุณภาพปีงบประมาณ ๒๕๕๒-๒๕๕๕ ตามที่ส่วนวิจัยและพัฒนาเสนอโครงการมานั้น
บัดนี้ คณะกรรมการวิชาการได้พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะโครงการไว้ดังนี้
เรื่องที่ ๑. โครงการชุดวิชาพัฒนาอาชีพจัดทำชุดการเรียนหลักสูตร การกรีดและการทำแผ่น
ยางพารา และโครงการจัดแหล่งเรียนรู้ ยางพารา
๑.๑ ลักษณะการเขียนโครงการ ๒ โครงการ ควรเขียนเป็นโครงการเดียวกัน  และถูกต้องครบ
ตามหลักการเขียนโครงการ และให้พิจารณาด้วยว่าเจตนาของโครงการสอดคล้องและจะเข้ามาตรฐานใด และเขียนกิจกรรมให้ชัดเจน
๑.๒.ในเรื่องการจัดทำหลักสูตร  สถาบัน กศน.ภาคเหนือมีต้นทุนเดิมอยู่แล้ว คือ ต้น
ยางพารา  ควรประสานเครือข่ายที่มีความรู้ความสามารถร่วมกันจัดทำหลักสูตรให้ครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการเริ่มปลูกจนถึงขั้นการผลิตและจำหน่าย เป็นต้น
                ๑.๓  โครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้  ถ้าจะดำเนินการในเรื่องการบริหารจัดการ เช่นในเรื่องของสถานที่จัดแหล่งเรียนรู้ ควรเขียนขั้นตอนและกระบวนการทำงาน  และเป้าหมาย ให้เขียนไว้ให้ชัดเจน และเป็นวิชาการเพื่อประเมินเข้ามาตรฐาน
                สรุปที่ประชุม
                ๑. ให้ผู้รับผิดชอบโครงการไปศึกษาจากโครงการร่มใหญ่  คือ โครงการจัดและพัฒนาการจัดการศึกษาต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาอาชีพและการมีงานทำ ประจำปี ๒๕๕๕ และโครงการจัดและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย 
                ๒. ให้ชะลอโครงการไว้ก่อน  จนกว่าจะได้รับการจัดสรรงบประมาณปี ๒๕๕๕
               

                เรื่องที่ ๒  กรอบการประเมินแผนพัฒนาคุณภาพปีงบประมาณ ๒๕๕๒-๒๕๕๕               
                ๒.๑  ให้ศึกษาแผนพัฒนาการศึกษา และผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร
                ๒.๒ ให้วิเคราะห์ผลจากการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการแต่ละปีสอดคล้องกับพันธกิจอย่างไร และน้ำหนักอยู่ที่พันกิจข้อไหน
๒.๓ ผลจากการปฏิบัติงานตาแผนปฏิบัติการมาใช้ประโยชน์ในการปรับวิสัยทัศน์ และพันธกิจ
อย่างไร
                ๒.๔ ไม่จำเป็นต้องประเมินผลกระทบของแผนกับดัชนีตัวชี้วัดความสุขของบุคลากรของสถาบัน กศน.ภาคเหนือ
สรุปที่ประชุม
                ๑. ให้ผู้รับผิดชอบปรับเกณฑ์ในการประเมินให้ชัดเจน ดังนี้
                      - วัตถุประสงค์
                    - ตัวชี้วัด
                    - เกณฑ์การประเมิน
                    - แหล่งข้อมูล/เครื่องมือ
       
จึงเรียนมาเพื่อทราบ